หัวข้อ   “ผลงาน 1 ปีของรัฐบาลในสายตานักเศรษฐศาสตร์”
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กร
ชั้นนำ 21 แห่ง เรื่อง “ผลงาน 1 ปีของรัฐบาลในสายตานักเศรษฐศาสตร์” เนื่องในโอกาสที่รัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์
ทำงานครบ 1 ปี   โดยโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจที่นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่า เป็นโครงการที่ยอดเยี่ยมที่สุด คือโครงการ
ลดค่าครองชีพ (เช่น รถเมล์ฟรี ค่าไฟฟรี ค่าน้ำฟรี)
  ส่วนโครงการที่ยอดแย่ที่สุด คือโครงการเช่ารถเมล์ NGV
4,000 คัน
พร้อมเสนอแนะให้รัฐบาลดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในปี 2553  โดยการกระตุ้นและส่งเสริมให้เอกชน
เป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและลงทุนต่อจากรัฐบาล
  ซึ่งจะเห็นผลก็ต่อเมื่อภาครัฐสามารถแก้ปัญหามาบตาพุดและ
ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองได้โดยเร็วที่สุด

                 ส่วนประเด็นเงินบาทแข็งค่า (ท่ามกลางการลดค่าเงินดองของเวียดนาม) ที่กำลังอยู่ในความสนใจของ
สาธารณชนและผู้ประกอบการ โดยมองว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้สินค้าไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันนั้น พบว่า
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.9 ไม่เห็นด้วย หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินนโยบายเงินบาทอ่อนค่า
ตามคำเรียกร้องของภาคเอกชน
เนื่องจาก การแทรกแซงค่าเงินบาทเพื่อให้อ่อนค่านอกจากจะมีต้นทุนในการแทรกแซง
ที่สูง เสี่ยงต่อการสูญเสียทุนสำรองโดยเปล่าประโยชน์แล้ว ยังไม่ช่วยให้ขีดความสามารถในการแข่งขันที่แท้จริงเพิ่มขึ้น

                 ด้านประเด็นการตื่นตัวในเรื่องการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกว่าจะกระทบต่อภาคการผลิตและภาค
ส่งออกหรือไม่นั้น นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 47.5 เห็นว่าจะส่งผลกระทบในทางลบต่อภาคการผลิตและส่งออกของไทย

                 (โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
 
             1. โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยอดเยี่ยมที่สุด ในสายตานักเศรษฐศาสตร์

 
ร้อยละ
อันดับ 1 โครงการลดค่าครองชีพ เช่น รถเมล์ฟรี รถไฟชั้น 3 ฟรี
            ค่าไฟฟ้าฟรี ค่าน้ำฟรี
28.3
อันดับ 2 โครงการเรียนฟรี 15 ปี
26.7
อันดับ 3 โครงการประกันราคาพืชผลการเกษตร
16.7

                 หมายเหตุ   นักเศรษฐศาสตร์เลือกจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวน 10 โครงการประกอบด้วย
                                โครงการประกันราคาพืชผลการเกษตร โครงการลดค่าครองชีพ โครงการแก้ปัญหาหนี้
                                นอกระบบ โครงการต้นกล้าอาชีพ โครงการเช่ารถเมล์ NGV 4,000 คัน โครงการเช็ค
                                ช่วยชาติ 2,000 บาท โครงการเบี้ยยังชีพคนชรา 500 บาทต่อเดือน โครงการเรียนฟรี
                                15 ปี โครงการธงฟ้าช่วยประชาชน และโครงการสนับสนุนการท่องเที่ยว
 
 
             2. โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยอดแย่ที่สุด ในสายตานักเศรษฐศาสตร์

 
ร้อยละ
อันดับ 1 โครงการเช่ารถเมล์ NGV 4,000 คัน
45.8
อันดับ 2 โครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ
18.6
อันดับ 3 โครงการเช็คช่วยชาติ 2,000 บาท
11.9

                 หมายเหตุ   นักเศรษฐศาสตร์เลือกจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวน 10 โครงการประกอบด้วย
                                โครงการประกันราคาพืชผลการเกษตร โครงการลดค่าครองชีพ โครงการแก้ปัญหาหนี้
                                นอกระบบ โครงการต้นกล้าอาชีพ โครงการเช่ารถเมล์ NGV 4,000 คัน โครงการเช็ค
                                ช่วยชาติ 2,000 บาท โครงการเบี้ยยังชีพคนชรา 500 บาทต่อเดือน โครงการเรียนฟรี
                                15 ปี โครงการธงฟ้าช่วยประชาชน และโครงการสนับสนุนการท่องเที่ยว
 
 
             3. ความเห็นต่อประเด็น หากไทยจะดำเนินโนบายเงินบาทอ่อนค่า (ตามคำเรียกร้องของภาคเอกชน)
                 เพื่อไม่ให้สินค้าไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน พบว่า


 
ร้อยละ
เห็นด้วย หากไทยจะดำเนินนโยบายเงินบาทอ่อนค่า
เพราะ    เศรษฐกิจของไทยมีการพึ่งพาการส่งออกซึ่งการดำเนิน
           นโยบายดังกล่าวจะช่วยให้เศรษฐกิจโดยรวมขยายตัว
           เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และลดการนำเข้าโดยเฉพาะน้ำมัน
           อย่างไรก็ตาม แม้ว่านักเศรษฐศาสตร์จะเห็นด้วยกับ
           แนวทางดังกล่าว แต่ก็เป็นการเห็นด้วยในลักษณะที่มี
           เงื่อนไข กล่าวคือ มาตรการเงินบาทอ่อนควรเป็นมาตรการ
           ระยะสั้น และต้องเป็นมาตรการที่สอดคล้องกับการเปลี่ยน
           แปลงของค่าเงินของประเทศคู่แข่ง และควรดำเนิน
           การไปพร้อมๆ กับนโยบายการเพิ่มขีดความสามารถอื่นๆ
27.9
ไม่เห็นด้วย หากไทยจะดำเนินนโยบายเงินบาทอ่อนค่า
เนื่องจาก   นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าเงินดอลลาร์จะมี
              ทิศทางที่อ่อนค่าอันจะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่า
              การแทรกแซงค่าเงินบาทเพื่อให้อ่อนค่านอกจากเป็น
              การฝืนกลไกตลาดแล้วยังมีต้นทุนในการแทรกแซงที่สูง
              เสี่ยงต่อการสูญเสียทุนสำรองโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้น
              การดูแลให้ค่าเงินมีเสถียรภาพจึงน่าจะเป็นทางออก
              ที่ดีกว่าการใช้นโยบายค่าเงินบาทอ่อน(ซึ่งแม้จะช่วย
              ให้การส่งออกดีขึ้นแต่ขณะเดียวกันราคาสินค้านำเข้าก็
              จะสูงขึ้นด้วย) อีกทั้งนโยบายค่าเงินบาทอ่อนไม่ใช่
              คำตอบของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
              แต่เป็นเพียงการอุดหนุนการส่งออก ดังนั้น ผู้ผลิตควร
              ให้ความสำคัญกับการสร้างขีดความสามารถในการ
              แข่งขันที่แท้จริงมากกว่า
63.9
ไม่มีความเห็น (ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่มั่นใจ)
8.2
 
 
             4. ความเห็นต่อประเด็น การตื่นตัวเรื่องการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกจะกระทบต่อภาค
                 การผลิต/ภาคส่งออกของไทยหรือไม่ พบว่า

 
ร้อยละ
เห็นว่า ไม่กระทบ ต่อภาคการผลิต/ภาคส่งออก
19.7
เห็นว่า กระทบทางลบ ต่อภาคการผลิต/ภาคส่งออก
47.5
เห็นว่า กระทบทางบวก ต่อภาคการผลิต/ภาคส่งออก
19.7
ไม่มีความเห็น (ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่มั่นใจ)
13.1
 
 
             5. ข้อเสนอของนักเศรษฐศาสตร์ต่อรัฐบาลในการดำเนินโนบายทางเศรษฐกิจปี 2553 พบว่า

                            นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่าการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจปี 2553 ควรเน้นนโยบายใน 2
                  ลักษณะควบคู่กันไป กล่าวคือ


                            (1) การกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการกระตุ้นและส่งเสริมให้เอกชนเป็นผู้ขับเคลื่อน
                  เศรษฐกิจและลงทุนต่อจากรัฐบาล
  ซึ่งจะเห็นผลก็ต่อเมื่อภาครัฐสามารถแก้ปัญหามาบตาพุด
                  โดยเร่งด่วนเพื่อเรียกความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน (แต่ต้องสอดคล้องกับแนวทาง Green Economy
                  ที่ชุมชนและตลาดต่างประเทศต้องการ) นอกจากนี้ ก็ควรเร่งแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง
                  ให้เร็วที่สุด เพราะปัจจุบันปัญหาทางการเมืองจัดเป็นปัจจัยหลักที่กำลังกัดกร่อนความเข้มแข็ง
                  ของเศรษฐกิจไทย

                            (2)
ภาครัฐต้องดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปในปี 2553 โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพ
                  ของการดำเนินโครงการต่างๆ เป็นสำคัญ
และต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใส ลดการคอร์รัปชั่น
                  รวมทั้งต้องดำเนินนโยบายอยู่บนพื้นฐานของวินัยทางการคลัง โดยนักเศรษฐศาสตร์เสนอให้รัฐเน้น
                  ไปที่โครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน ระบบขนส่งสาธารณะ โลจิสติกส์ การเกษตร และการ
                  ส่งออก เป็นสำคัญ
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                  1. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรง
                      ไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่องทางสื่อมวลชน
                  2. เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการและวางแผนงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์
                      สูงสุดกับประเทศไทย
 
กลุ่มตัวอย่าง:
                        เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
               (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใด
               อย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้
               ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปี)  ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์   วิจัย
               เศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ  จำนวน 21 แห่งได้แก่   ธนาคารแห่งประเทศไทย   สำนักงาน
               คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์
               สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง   สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
               มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์
               ธนาคารนครหลวงไทย   ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย   ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
               สมาคมธนาคารไทย บริษัททริสเรทติ้งจำกัด บล.ภัทร บล. เอเซียพลัส   คณะเศรษฐศาสตร์และ
               บริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยทักษิณ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะเศรษฐศาสตร์
               มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 14 - 16 ธันวาคม 2552
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 23 ธันวาคม 2552
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
33
54.1
             หน่วยงานภาคเอกชน
18
29.5
             สถาบันการศึกษา
10
16.4
รวม
61
100.0
เพศ:    
             ชาย
35
57.4
             หญิง
26
42.6
รวม
61
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
2
3.3
             26 – 35 ปี
30
49.1
             36 – 45 ปี
14
23.0
             46 ปีขึ้นไป
15
24.6
รวม
61
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
3
4.9
             ปริญญาโท
47
77.1
             ปริญญาเอก
11
18.0
รวม
61
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
16
26.2
             6 - 10 ปี
17
27.9
             11 - 15 ปี
6
9.8
             16 - 20 ปี
7
11.5
             ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
15
24.6
รวม
61
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776